กรณีศึกษาโครงสร้างธนาคารกสิกรไทย
โครงสร้างธนาคารกสิกรไทย
รูปแบบที่ใช้ของธนาคารกสิกรไทย
คณะกรรมการธนาคาร ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อธนาคารประกอบด้วยกรรมการจำนวนทั้งสิ้น 17 คน โดยการเลือกตั้งกรรมการเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายและข้อบังคับของธนาคาร ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับธุรกิจของธนาคาร ประกอบด้วย
- คณะกรรมการที่เป็นผู้บริหาร 3 คน
- คณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร 5 คน
- คณะกรรมการอิสระ 9 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 53 ของกรรมการทั้งคณะ
มีรายชื่อดังนี้
1. นายบัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
2. นายสมชาย บุลสุข รองประธานกรรมการ
3. นายกฤษฎา ล่ำซำ รองประธานกรรมการ
4. นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
5. นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
6. นางสุจิตพรรณ ล่ำซำ กรรมการ
7. ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ กรรมการอิสระ
8. ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ กรรมการอิสระ
9. ดร.อภิชัย จันทรเสน กรรมการ
10. ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการอิสระ
11. นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร กรรมการอิสระ
12. น.ต.พญ. นลินี ไพบูลย์ กรรมการอิสระ
13. นายสราวุฒิ อยู่วิทยา กรรมการอิสระ
14. ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการอิสระ
15. นายกลินท์ สารสิน กรรมการอิสระ
16. นายสมเกียรติ ศิริชาติไชย กรรมการ
17. นายรพี สุจริตกุล กรรมการ
โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. ดูแลและจัดการธนาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของธนาคาร รวมทั้งมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
2. ให้ความเห็นชอบภารกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลัก และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
3. พิจารณาและหารือเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่เสนอโดยฝ่ายจัดการ และอนุมัติในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับทิศทาง และนโยบายของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทย รวมทั้งพิจารณาและอนุมัติแผนธุรกิจ งบประมาณ และ เป้าหมายการปฏิบัติงานที่เสนอโดยฝ่ายจัดการ
4. ติดตามผลการดำเนินงานของธนาคาร และความคืบหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์ และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบและนโยบายที่เกี่ยวข้อง
5. ดูแลและพิจารณาความสมดุลของวัตถุประสงค์ในระยะสั้นและระยะยาว
6. พิจารณามอบอำนาจให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ มีอำนาจดำเนินการในธุรกิจธนาคารภายใต้งบประมาณค่าใช้จ่ายประเภททุน และงบประมาณค่าใช้จ่ายที่คณะกรรมการได้อนุมัติให้ดำเนินการในโครงการต่างๆ นอกจากนี้ คณะกรรมการจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่เกินกว่าอำนาจดำเนินการที่ได้กำหนดไว้
7. พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลและแผนพัฒนาผู้บริหาร รวมถึงการกำหนดค่าตอบแทน สรรหาและกำหนดผู้สืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ และ ประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ รวมทั้งดูแลให้ธนาคารมีกระบวนการที่มีประสิทธิผลในการประเมินผลงานของผู้บริหารระดับสูง
8. ดูแลกำกับให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
9. ดูแลให้มีการกำกับตรวจสอบ ทั้งจากผู้ตรวจสอบภายใน และผู้สอบบัญชีภายนอก ให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล
10. อนุมัติงบการเงินประจำไตรมาส รายงวด และประจำปี และดูแลให้มีการจัดทำงบการเงินเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
11. ดูแลให้มีเงินกองทุนในระดับที่เพียงพอ รวมถึงกระบวนการประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนที่เหมาะสมเพื่อรองรับการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
12. ดูแลให้มีการสื่อสารในเรื่องต่างๆ กับผู้มีส่วนได้เสียของธนาคารและสาธารณชนนอกจากนี้ เรื่องดังต่อไปนี้ต้องเสนอเพื่อขออนุมัติจากคณะกรรมการธนาคารก่อน
1. เรื่องเกี่ยวกับนโยบายของธนาคาร
2. เรื่องที่หากทำไปแล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญแก่กิจการของธนาคาร
3. เรื่องที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยคณะกรรมการธนาคารเอง
4. เรื่องที่จะต้องปฏิบัติตามระเบียบที่ธนาคารวางไว้
5. เรื่องที่คณะจัดการเห็นสมควรเสนอเพื่ออนุมัติเป็นรายเรื่อง หรือตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการธนาคารได้วางไว้ เช่น เรื่องการอนุมัติเครดิต เป็นต้น
คณะกรรมการที่แบ่งตามฝ่ายงาน มีทั้งหมด 6 ด้าน
คณะกรรมการอิสระ ประกอบด้วย กรรมการอิสระของธนาคารทั้งหมด มีบทบาทในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของธนาคารโดยรวม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งถ่วงดุลระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ และคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยการเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อธนาคาร นักลงทุน และผู้ถือหุ้นรายย่อย อย่างอิสระ โปร่งใส โดยไม่มีส่วนได้เสียใดๆ เพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการธนาคารมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการแสดงความเห็น หรือให้ข้อสังเกต หรือซักถามในที่ประชุมคณะกรรมการ โดยไม่ให้อิทธิพลใดๆ อยู่เหนือการตัดสินใจที่เป็นอิสระ รวมทั้ง ให้คำแนะนำ หรือให้ความเห็นในเรื่องที่สำคัญที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการธนาคาร อาทิ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ นโยบายเครดิต ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ และธุรกรรมสินเชื่อตามอำนาจที่ธนาคารกำหนดและเสนอแนะวาระการประชุม กรณีที่เห็นว่ามีเรื่องที่สำคัญที่คณะกรรมการควรพิจารณา และยังไม่ได้รับการบรรจุไว้ในวาระการประชุมคณะกรรมการธนาคาร
คณะกรรมการชุดย่อย แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยขึ้นมาหลายคณะ เพื่อช่วยปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาประเด็นในราย ละเอียดที่อยู่ในความรับผิดชอบแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ในการประชุมของคณะ กรรมการธนาคาร
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำกับดูแล ให้การดำเนินกิจการของธนาคารและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ธนาคารจัดตั้งขึ้น ผู้บริหาร พนักงาน ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย นโยบายของหน่วยราชการ สถาบันที่กำกับดูแลธนาคารที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเป็นไปตามนโยบายธนาคาร
คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระ เพื่อทำหน้าที่ในในการสอบทานรายงานทางการเงินประจำไตรมาส งวดหกเดือน และประจำปี และสอดส่องดูแลระบบการบริหารความเสี่ยง ระบบการควบคุมภายใน กระบวนการตรวจสอบ และการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องและการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของธนาคาร
คณะกรรมการทรัพยากรบุคคลและกำหนดอัตราค่าตอบแทน มีหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับผู้สืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการ และทบทวนแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง และพนักงานในตำแหน่งที่สำคัญ เสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร และติดตามดูแลการดำเนินการตามวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ทางด้านทรัพยากรบุคคลของ ธนาคาร รวมทั้ง แผนงานพัฒนาผู้บริหารของธนาคารด้วย
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงองค์การ มีหน้าที่กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง และขอบเขตความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เสนอต่อคณะกรรมการธนาคาร เพื่อพิจารณาในเรื่องการบริหารความเสี่ยงโดยรวม ทั้งนี้ ต้องครอบคลุมความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ และให้มีการรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารอย่างสม่ำเสมอ
2. Organization Chart ของสายงานต่างๆ
โดยธนาคารกสิกรไทยมีการแบ่งสายงานออกเป็นทั้ง 15 สายงานโดย ในแต่ละสายงานก็จะมีฝ่ายแยกย่อยไปอีีกตามแต่ละสายงานจะมีการกำหนด ซึ่งมีฝ่ายไม่เท่ากันในแต่ละสายงาน ดังนี้
โดยธนาคารกสิกรไทยมีการแบ่งสายงานออกเป็นทั้ง 15 สายงานโดย ในแต่ละสายงานก็จะมีฝ่ายแยกย่อยไปอีีกตามแต่ละสายงานจะมีการกำหนด ซึ่งมีฝ่ายไม่เท่ากันในแต่ละสายงาน ดังนี้
1) สายงานเลขาธิการองค์การ
รับผิดชอบการดูแลและประสานงานกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน รวมทั้งส่งเสริมคณะกรรมการและผู้บริหารของเครือธนาคารกสิกรไทย ในการปฏิบัติหน้าที่และกำกับให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี2) สายงานบริหารยุทธศาสตร์องค์การ
รับผิดชอบการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์โดยรวมของธนาคาร รวมทั้งสร้างเสริมภาพลักษณ์ และการประสานระหว่างบริษัทการเงินในเครือธนาคารกสิกรไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3) สายงานกำกับและตรวจสอบ
รับผิดชอบการดูแลและประสานงานกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน รวมทั้งส่งเสริมคณะกรรมการและผู้บริหารของเครือธนาคารกสิกรไทย ในการปฏิบัติหน้าที่และกำกับให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี2) สายงานบริหารยุทธศาสตร์องค์การ
รับผิดชอบการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์โดยรวมของธนาคาร รวมทั้งสร้างเสริมภาพลักษณ์ และการประสานระหว่างบริษัทการเงินในเครือธนาคารกสิกรไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
3) สายงานกำกับและตรวจสอบ
กำกับและตรวจสอบการทำธุรกิจ และการดำเนินงานของธนาคาร เพื่อให้มีความถูกต้องเหมาะสม ภายใต้ข้อกำหนดของธนาคาร และหน่วยงานทางราชการ รวมถึงจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพของธนาคาร
4) สายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัท
ทำธุรกิจ และดูแลความสัมพันธ์ลูกค้ากับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร
5) สายงานผลิตภัณฑ์บรรษัทและผู้ประกอบการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริหารช่องทางการขายและให้บริการสำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และลูกค้าผู้ประกอบการ
6) สายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ
ทำธุรกิจและดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และให้บริการทางการเงินตามความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างกำไรที่ยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดอย่างมีคุณภาพภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม
7) สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ
ทำธุรกิจ และดูแลความสัมพันธ์ลูกค้ากับลูกค้าธุรกิจรายย่อย และลูกค้าส่วนบุคคลให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร
8) สายงานธุรกิจตลาดทุน
ดูแล พัฒนาผลิตภัณฑ์และให้บริการธุรกิจตลาดทุน ซึ่งครอบคลุมธุรกรรมการลงทุน การระดมทุน และการให้คำปรึกษา ด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร และเป็นผู้นำในเรื่องผลิตภัณฑ์ธุรกิจตลาดทุน
9) สายงานวาณิชธนกิจ
รับผิดชอบให้คำปรึกษาในการวางแผนการปรับโครง สร้างและระดมเงินทุน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงสำหรับกลุ่มลูกค้าบรรษัทขนาดใหญ่ ผ่านตลาดทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
10) สายงานธุรกิจข้ามประเทศ
เพื่อรวมศูนย์การให้บริการลูกค้าคนไทยและต่างประเทศที่ทำ ธุรกิจข้ามชาติไว้ด้วยกัน เป็นการรองรับกระแสการค้า การลงทุนที่จะมีมากขึ้นหลังจากประเทศสมาชิกในอาเซียน 10 ประเทศรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
11) สายงานการให้บริการลูกค้า
เพื่อสนับสนุนกระบวนการธุรกิจผลิตภัทฑ์เครดิตของสายงานธุรกิจในความรับผิด ชอบ ให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ / บริการแก่ลูกค้าได้ตามเวลา ต้นทุน และคุณภาพที่กำหนดภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
12) สายงานบริหารความเสี่ยงองค์การ
กำหนดนโยบาย และควบคุมกระบวนการทำงานด้านเครดิต ตลอดจนการแก้ไขหนี้ และ/หรือ ปรับโครงสร้างหนี้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม
13) สายงานการเงินและควบุคม
บริหารความเสี่ยงและการเงินทั้งหมดของธนาคารให้เป็นไปตามเป้าหมาย นโยบาย และข้อกำหนดของธนาคาร และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบริหารการจัดการข้อมูลด้านบัญชีและการเงิน เพื่อสนับสนุนการบริหารงานของธนาคาร
14) สายงานระบบ
จัดหาและพัฒนาระบบงาน และกระบวนการทำงานทั้งหมดของธนาคารอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานสนับสนุนอื่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
15) สายงานทรัพยากรบุคคล
บริหาร และประสานงานด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อจัดสรร พัฒนา และรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรบุคคลตามนโยบายและเป้าหมายของธนาคาร รวมถึงการเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างพนักงานกับองค์การ
4) สายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัท
ทำธุรกิจ และดูแลความสัมพันธ์ลูกค้ากับลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ ให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร
5) สายงานผลิตภัณฑ์บรรษัทและผู้ประกอบการ
พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริหารช่องทางการขายและให้บริการสำหรับลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และลูกค้าผู้ประกอบการ
6) สายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ
ทำธุรกิจและดูแลความสัมพันธ์ลูกค้าธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และให้บริการทางการเงินตามความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างกำไรที่ยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในตลาดอย่างมีคุณภาพภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม
7) สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ
ทำธุรกิจ และดูแลความสัมพันธ์ลูกค้ากับลูกค้าธุรกิจรายย่อย และลูกค้าส่วนบุคคลให้บรรลุเป้าหมายของธนาคาร
8) สายงานธุรกิจตลาดทุน
ดูแล พัฒนาผลิตภัณฑ์และให้บริการธุรกิจตลาดทุน ซึ่งครอบคลุมธุรกรรมการลงทุน การระดมทุน และการให้คำปรึกษา ด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกำไร และเป็นผู้นำในเรื่องผลิตภัณฑ์ธุรกิจตลาดทุน
9) สายงานวาณิชธนกิจ
รับผิดชอบให้คำปรึกษาในการวางแผนการปรับโครง สร้างและระดมเงินทุน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงสำหรับกลุ่มลูกค้าบรรษัทขนาดใหญ่ ผ่านตลาดทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
10) สายงานธุรกิจข้ามประเทศ
เพื่อรวมศูนย์การให้บริการลูกค้าคนไทยและต่างประเทศที่ทำ ธุรกิจข้ามชาติไว้ด้วยกัน เป็นการรองรับกระแสการค้า การลงทุนที่จะมีมากขึ้นหลังจากประเทศสมาชิกในอาเซียน 10 ประเทศรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
11) สายงานการให้บริการลูกค้า
เพื่อสนับสนุนกระบวนการธุรกิจผลิตภัทฑ์เครดิตของสายงานธุรกิจในความรับผิด ชอบ ให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ / บริการแก่ลูกค้าได้ตามเวลา ต้นทุน และคุณภาพที่กำหนดภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
12) สายงานบริหารความเสี่ยงองค์การ
กำหนดนโยบาย และควบคุมกระบวนการทำงานด้านเครดิต ตลอดจนการแก้ไขหนี้ และ/หรือ ปรับโครงสร้างหนี้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม
13) สายงานการเงินและควบุคม
บริหารความเสี่ยงและการเงินทั้งหมดของธนาคารให้เป็นไปตามเป้าหมาย นโยบาย และข้อกำหนดของธนาคาร และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการบริหารการจัดการข้อมูลด้านบัญชีและการเงิน เพื่อสนับสนุนการบริหารงานของธนาคาร
14) สายงานระบบ
จัดหาและพัฒนาระบบงาน และกระบวนการทำงานทั้งหมดของธนาคารอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่เป็นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และงานสนับสนุนอื่น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
15) สายงานทรัพยากรบุคคล
บริหาร และประสานงานด้านทรัพยากรบุคคล เพื่อจัดสรร พัฒนา และรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรบุคคลตามนโยบายและเป้าหมายของธนาคาร รวมถึงการเสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างพนักงานกับองค์การ
3. Organization Chart ของฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานใหญ่
ฝ่ายต่างๆในสำนักงานใหญ่จะมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามงานของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบแนวทางการดำเนินงานตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีคณะกรรมการธนาคารซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน
4. Organization Chat ของสำนักงานเขตและสาขา ธนาคารกสิกรไทย มีสาขาทั้งหมด 611 สาขา โดยแบ่งเป็น สาขาในประเทศ 604 สาขา เป็นสาขาในกรุงเทพ 199 สาขา และส่วนภูมิภาค 405 สาขา และสาขาในต่างประเทศ 7 สาขา โดยสาขาของธนาคารจะได้รับมอบอำนาจในการบริหารจากสำนักงานใหญ่ ซึ่งจะคอย ดูแลและสนับสนุนให้สามารถทำธุรกิจแข่งขันกับธนาคารอื่นได้ โดยในแต่ละสาขาจะมีผู้จัดการสาขา เป็นผู้ควบคุมดูแลกิจการในการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมาย
ที่มา : รางานประจำปี2556 , แบบรายงาน56-1 และ http://www.kasikornbank.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น